ในสมัยโบราณหากใครที่คลอดลูกน้อยออกมาแล้วนั้นก็จะมีความเชื่อว่า จะมีแม่ซื้อหรือสิ่งที่มองไม่เห็นคอยดูแล เลี้ยงดูหรือคอยหยอกล้อแกล้งเด็กน้อยเหล่านั้น เมื่อเด็กๆร้องไห้เสียงดังในยามดึก พ่อแม่และคนเฒ่าคนแก่ก็จะบอกว่าแม่ซื้อมาแกล้งลูกแกล้งหลานนั้นเอง จนมาถึงปัจจุบันก็ยังมีหลายๆบ้านที่ยังมีความเชื่อแบบนี้กันอยู่ และวันนี้เราจะพาเพื่อนๆไปรู้จักกับแม่ซื้อว่าเป็นอย่างไร
ประวัติความเป็นมา
แม่ซื้อความเชื่อของคนไทยสมัยโบราณที่เชื่อว่าเด็กทารกทุกคนที่เกิดต้องมีแม่ซื้อหรือเทวดามาคอยดูแล เพื่อปกปักรักษาไม่ให้เด็กเจ็บไข้ได้ป่วย ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ ๑๒ ขวบ ส่วนมากแม่ซื้อจะเป็นผู้หญิง ความเชื่อนี้มีอยู่ทุกภาคของประเทศไทย แม่ซื้อมีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ดังนี้ “แม่ซื้อ (น.) เทวดาหรือผีที่เชื่อกันว่าเป็นผู้ดูแลรักษาทารก,แม่วี ก็เรียก” ความเชื่อในเรื่องของแม่ซื้อในแต่ละภูมิภาคอาจมีความแตกต่างกันไปบ้าง เช่น ภาคเหนือจะมีแม่ซื้อ ๗ นาง ที่จะปกป้องดูแลทารกตามวันเกิดคล้าย ๆ กับภาคกลาง ส่วนภาคใต้นั้นแม่ซื้อเป็นสิ่งเร้นลับ ไม่มีตัวตน จะมีฐานะเป็นเทวดาหรือภูตผีก็ไม่ปรากฏชัดทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงของทารกตั้งแต่แรกเกิดจนอายุ ๑๒ ขวบ และมีด้วยกัน ๔ ตน เป็นผู้หญิงชื่อ ผุด ผัด พัด และผล แต่ก็มีบางพื้นที่ที่กล่าวว่าแม่ซื้อมีทั้งผู้ชายและผู้หญิง แม่ซื้อเป็นวิธีการหรือกุศโลบายที่บรรพบุรุษของเราในอดีตคิดขึ้นเพื่อปกป้องลูกหลานให้มีชีวิตที่ดี หลีกเลี่ยงการเจ็บไข้ได้ป่วย ทั้งยังเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่พ่อแม่ที่ต้องเลี้ยงดูลูกเล็ก ๆของตนด้วย
ตามตำนานกล่าวว่าแม่ซื้อเดิมทีเป็นเทพธิดา ได้ถูกพระอิศวรบัญชาให้แปลงกายเป็นแม่ซื้อลงมาปกปักรักษาทารกตั้งแต่อยู่ท้องผู้หญิงโดยมีความเชื่อว่าเมื่อเด็กทารกเกิดออกมาจากท้องแม่ก็จะมีแม่ซื้ออีกตนหนึ่งติดตามมาเพื่อคุ้มครองปกปักรักษา แต่ในทางกลับกันแม่ซื้อก็อาจให้โทษได้ด้วยอันเนื่องจากมีแม่ซื้อมาหยอกเล่นกับเด็ก หรือหึงหวงเด็กทารกเพราะมีแม่ใหม่คอยดูแล ตามความเชื่อนี้แม้ว่าแม่ซื้อจะถือว่าเป็นพี่เลี้ยงทารกก็จริงอยู่ แต่บางครั้งก็ให้โทษได้เช่นกัน มีการแปลงกายเป็นสิ่งต่าง ๆ เช่น เป็นยักษ์ เป็นมาร ฯลฯ มาหลอกหลอนเด็กจนทำให้เด็กทารกตกใจกลัวป่วยไข้ไป ดังความว่า “เป็นช้างเสือสีห์ เป็นแร้งเป็นกาเป็นครุฑเลียงผา เป็นควายเป็นวัว เป็นนกเงือกร้อง กึกก้องพองหัว ตัวเป็นตัววัว หัวเป็นเลียงผา บ้างเป็นงูเงือก หน้าลาตาเหลือก ยักคิ้วหลิ้วตา บิดเนื้อบิดตัว น่ากลัวนักหนาตัวเป็นมฤคา เศียรากลับผัน เป็นยักษ์ขินี เติบโตพ่วงพี ขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน ทารกเห็นร้อง ขนพองตัวสั่น ดิ้นด้าวแดยัน กายสั่นรัวรัว ให้ร้อนให้เย็น ร่างกายแข็งเข็ญ เป็นไข้ร้อนตัวท้องขึ้นท้องพอง เจ็บป่วยปวดหัว แม่ซื้อประจำตัว ทำโทษโทษา” การกระทำของแม่ซื้อดังกล่าวนี้ อาจจะทำให้เด็กตกใจ หรือเจ็บป่วยได้ ดังนั้นเพื่อให้เด็กหายเป็นปกติ จึงมีการจัดพิธี “ทำแม่ซื้อ”หรือ “เสียแม่ซื้อ”ขึ้น บางครอบครัวแม้เด็กจะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ ก็ยังทำพิธีดังกล่าวอยู่ดี ทั้งนี้ด้วยเชื่อว่าจะเป็นสิริมงคลแก่เด็ก สำหรับพิธี ”ทำแม่ซื้อ” หรือ “เสียแม่ซื้อ”นั้นหมายถึงพิธีกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กหายจากอาการสะดุ้งผวา หรือการเจ็บไข้ได้ป่วย และได้รับการดูแลรักษาด้วยดีจากแม่ซื้อ การทำพิธีมักจะทำในวันเกิดของเด็กหากเป็นวันข้างขึ้นก็ให้ใช้วันคี่ ข้างแรมให้ใช้วัน ข้างแรม ซึ่งบางท้องถิ่นโดยเฉพาะภาคอีสานเรียกพิธีนี้ว่า “พิธีแบ่งลูกผีลูกคน” โดยการนำเด็กทารกมาวางในกระด้งร่อนแล้วกล่าวว่า “สามวันลูกผี สี่วันลูกคน ลูกของใคร ใครเอาไปเน้อ” ฝ่ายพ่อแม่ก็จะรับว่าเป็นลูกตน คนทำพิธีก็จะส่งลูกให้แม่ซื้อก็จะรู้ว่าทารกนั้นเป็นลูกคนแล้ว ก็จะไม่มารบกวนอีก
สำหรับในภาคใต้แม่ซื้อเป็นสิ่งเร้นลับที่อยู่ในความเชื่อของชาวบ้าน ไม่มีตัวตนและมีฐานะเป็นเทวดาหรือภูตผี ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงของทารกตั้งแต่แรกเกิดจนอายุ ๑๒ ขวบ ซึ่งมีด้วยกัน ๔ ตนเป็นผู้หญิงชื่อ ผุด ผัด พัดและผล แต่ปราชญ์ชาวบ้านคือนายพุ่ม คงอิศโร หมอทำขวัญจังหวัดสงขลา กล่าวว่าแม่ซื้อตามความเชื่อของคนภาคใต้ มีทั้งชายและหญิง ดังบททำขวัญที่ว่า “แม่ซื้อ ๔ คน ชื่อเสียงชอบกลทั้งหญิงทั้งชายเพ็ดทูล เพ็ดพล่าน เพ็ดทนเพ็ดทาน อาจารย์กดหมายเรียกว่าปู่ตา รักษาร่างกาย แม่ซื้อผู้ชาย เร่งคลายออกมา นางกุมารี นางเอื้อย นางอี นางนาฏสุนทรี ที่เฝ้ารักษา เชิญมาแม่มา บูชาส่าหรี” ความเชื่อในเรื่องของแม่ซื้อแม่ซื้อ หรือในบางท้องถิ่นเรียกแม่เซ้อ เป็นวัฒนธรรมความเชื่อพื้นบ้านอย่างหนึ่ง ซึ่งมีอิทธิพลต่อแนวความคิด และพฤติกรรมของชาวบ้านกลุ่มนั้นอย่างลึกซึ้ง เพราะมีการสืบทอดปลูกฝังสืบต่อกันมาหลายชั่วคน และเชื่อกันว่าแม่ซื้อหรือแม่เซ้อ เป็นสิ่งเร้นลับที่อยู่ในความเชื่อของชาวบ้าน ไม่มีตัวตน จะมีฐานะเป็นเทวดาหรือภูติผีก็ไม่ปรากฏชัด แต่เชื่อกันว่าทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงทารกตั้งแต่แรกเกิดจนอายุ ๑๒ ขวบ ดังปรากฏในเพลงกล่อมเด็กที่ว่า
(ฮ้าเอ้อ…เหอ) | น้องนอนเหอ นอนให้หลับดี |
แม่ซื้อทั้งสี่ เข้ามาพิทักษ์รักษา | |
อาบน้ำป้อนข้าว มารักษาเจ้าทุกเวลา | |
มาช่วยพิทักษ์รักษา เด็กอ่อนนอนใน…เปล…เหอ |
เพลงร้องเรือหรือเพลงกล่อมเด็กบทนี้ได้กล่าวถึงแม่ซื้อ แม่ซื้อหรือแม่เซ้อ หมายถึง เทวดาหรือผีที่ประจำทารก แม่วีก็เรียกแม่ซื้อทั้งสี่นี้ หมอทำขวัญบางคนว่าเป็นหญิงทั้งหมด ดังบททำแม่ซื้อของนายปาน เพชรสุวรรณ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ระบุชื่อแม่ซื้อไว้ด้วยว่า “แม่ซื้อทั้งสี่พัลลิกาเทวี สนทรีแจ่มจันทร์ พัลลิกาบัวโบต คนธรรพคนธรรมพ์ทั้งสี่แจ่มจันทร์ แม่เลี้ยงรักษา” นามหรือชื่อของแม่ซื้อทั้ง ๔ ตนนี้บางท้องถิ่นก็เรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่นชื่อว่า “ผุด ผัด พัด ผล”
ในการประกอบพิธีกรรมเพื่อบูชาแม่ซื้อ หรือบางทีเรียกว่า “ทำแม่ซื้อ” คือการทำให้แม่ซื้อพอใจและจะได้ดูแลปกปักรักษาเด็กให้ดี หรือให้เด็กหายจากอาการตกใจกลัว หรืออาการหวาดผวา หรือหายเจ็บไข้ได้ป่วย การทำแม่ซื้อเชื่อกันว่าเป็นสิ่งมงคลควรกระทำต่อเด็ก สำหรับแม่ซื้อตามความเชื่อของคนไทยทั่วไป มีอยู่ ๗ ตนและอยู่ประจำวันได้แก่
วันอาทิตย์ ชื่อว่า “วิจิตรมาวรรณ” มีหัวเป็นสิงห์ มีผิวกายสีแดง |
วันจันทร์ ชื่อว่า “วรรณนงคราญ” มีหัวเป็นม้า มีผิวสีขาวนวล |
วันอังคาร ชื่อว่า “ยักษบริสุทธิ์ มีหัวเป็นมหิงสา (ควาย)” ผิวกายสีชมพู |
วันพุธ ชื่อว่า “สามลทัศ” มีหัวเป็นช้าง ผิวกายสีเขียว |
วันพฤหัสบดี ชื่อว่า “กาโลทุกข์” มีหัวเป็นกวาง มีผิวกายสีเหลืองอ่อน |
วันศุกร์ ชื่อว่า “ยักษ์นงเยาว์” มีหัวเป็นโค ผิวกายสีฟ้าอ่อน |
วันศุกร์ ชื่อว่า “ยักษ์นงเยาว์” มีหัวเป็นโค ผิวกายสีฟ้าอ่อน |
วันเสาร์ ชื่อว่า “เอกาไลย์” มีหัวเป็นเสือ ผิวกายสีดำ ทุกตนทรงอาภรณ์ (เสื้อผ้า) สีทอง |
แม่ซื้อ7 นามสถิตประจำวันเด็กเกิด
สรรหามาเล่าสัปดาห์นี้เกี่ยวกับความเชื่อเรื่อง “แม่ซื้อแต่ละวันประจำวันเด็กเกิด” คัดจาก รฦก, วัฒนรักษ์ ความเชื่อเรื่อง “แม่ซื้อ” ล้วนเป็นภูมิปัญญาของบรรพชนไทยในอดีต ที่ได้จรรโลงสร้างสรรค์เป็นมรดกของชาติให้แก่อนุชนคนรุ่นหลัง แม้บางท่านอาจจะรู้สึกว่าดูไม่เป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์เอาเสียเลย แต่ตรงนี้แหละคือเสน่ห์ทางวัฒนธรรม ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่จะทำความเข้าใจ และร่วมกันอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่คู่กับบ้านเมืองสืบไป ตามหลักฐานที่ปรากฏในจารึกวัดโพธิ์ระบุว่า แม่ซื้อมีอยู่ประจำวันทั้ง 7 โดยอธิบายรูปลักษณ์และที่สถิต ว่าอยู่ในเมืองบน (เมืองสวรรค์) เมืองล่าง (เมืองดินหรือพื้นโลก) และกลางหน (กลางทาง) เมื่อประมวลกับคัมภีร์ปฐมจินดา ซึ่งเป็นคัมภีร์หนึ่งในกลุ่มตำราแพทย์แผนไทย กล่าวถึงแม่ซื้อความตอนหนึ่งว่า “…หากนำรกของเด็กทารกไปฝังไว้ยังที่อยู่ของแม่ซื้อ จะทำให้แม่ซื้อรักใคร่เอ็นดู ปกปักรักษา เล่นหยอกล้อด้วย หากไม่เช่นนั้น แม่ซื้อก็จะหลอกหลอนให้เด็กตกใจ ร้องไห้ โยเย เจ็บไข้บ่อยๆ …” แม่ซื้อทั้งเจ็ดนี้มีนาม รูปร่างลักษณะ และที่อยู่อาศัยแตกต่างกัน ธรรมเนียมนิยมการเขียนภาพแม่ซื้อแต่โบราณนั้น หากจะเขียนลงในผ้าขาวจะต้องเขียนด้วยยางมะเดื่อและต้องระบายสี ให้ถูกกับลักษณะรูปร่างหน้าตาตามสีอาภรณ์ ซึ่งจะเป็นสีทองทั้งหมด โดยที่สีกายของแม่ซื้อประจำวันก็แตกต่างไป จะมีรายละเอียดของแม่ซื้อทั้งเจ็ด ดังนี้ แม่ซื้อประจำเด็กเกิดวันอาทิตย์ชื่อว่า “วิจิตรมาวรรณ” มีหัวเป็นสิงห์ มีผิวกายสีแดง ถิ่นอาศัยอยู่บนจอมปลวก แม่ซื้อประจำเด็กเกิดวันจันทร์ ชื่อว่า “วรรณนงคราญ” บางตำราว่า ชื่อ นางมัณพนานงคราญ มีหัวเป็นม้า มีผิวสีขาวนวล ถิ่นอาศัยอยู่ที่บ่อน้ำ แม่ซื้อประจำเด็กเกิดวันอังคาร ชื่อว่า “ยักษบริสุทธิ์” มีหัวเป็นมหิงสา (ควาย)” ผิวกายสีชมพู ถิ่นอาศัยอยู่ที่ศาลเทพารักษ์ แม่ซื้อประจำเด็กเกิดวันพุธชื่อว่า “สามลทัศ” (…ทรรศ) บางตำราว่าชื่อ นางสมุทชาต มีหัวเป็นช้าง ผิวกายสีเขียว ถิ่นอาศัยอยู่ที่ต้นพระศรีมหาโพธิ แม่ซื้อประจำเด็กเกิดวันพฤหัสบดี ชื่อว่า “กาโลทุกข์” มีหัวเป็นกวาง มีผิวกายสีเหลืองอ่อน ถิ่นอาศัยอยู่ที่สระน้ำหรือบ่อน้ำใหญ่ แม่ซื้อประจำเด็กเกิดวันศุกร์ชื่อว่า “ยักษ์นงเยาว์” มีหัวเป็นโค ผิวกายสีฟ้าอ่อน ถิ่นอาศัยอยู่ที่ต้นไทรใหญ่ แม่ซื้อประจำเด็กเกิดวันเสาร์ชื่อว่า “เอกาไลย์” มีหัวเป็นเสือ ผิวกายสีดำ ทุกตนทรงอาภรณ์ (เสื้อผ้า) สีทอง ถิ่นอาศัยอยู่ที่ศาลพระภูมิ เป็นที่น่าสังเกตว่าการอธิบายรูปลักษณ์ของแม่ซื้อแต่ละนามนัยนี้ มีความคล้ายคลึงกับเรื่องกำเนิดละรูปลักษณ์ของ “เทวดานพเคราะห์” ในคติไทย จะได้นำมาเล่าในคราวถัดไป
แม่ซื้อ ในแต่ละภาค
ภาคกลาง แม่ซื้อ เป็นภูตประจำทารก มีอยู่ ๗ ตน แม่ซื้อทั้งเจ็ดตนนี้ แต่ละตนจะสำแดงเดชให้ทารกได้รับความเจ็บป่วยต่างๆกันไป เช่น ทำให้ปวดท้อง ร้องไม่หยุดหรือบางครั้งก็มีอาการหวาดผวา คนสมัยโบราณจึงคิดวิธีไม่ให้แม่ซื้อให้โทษแก่ทารก โดยทำพิธีที่เรียกว่า พิธีบำบัดพิษแม่ซื้อ โดยผู้ทำพิธีจะทำบัตรขึ้นมาใบหนึ่ง ในบัตรจะใส่ของกินต่างๆ เช่น ข้าว น้ำ กุ้งพล่า ปลา ฯลฯ และตุ๊กตาดินรูปผู้หญิงนั่งพับเพียบประคองเด็กอยู่ในตัก เมื่อเจ้าพิธีกล่าวคำในพิธีจบก็จะหักหัวตุ๊กตาออก เสมือนให้แม่ซื้อเอาไปเล่นแทนได้ ทารกก็จะไม่เจ็บป่วยจากการรบกวนของแม่ซื้ออีก
ภาคเหนือ แม่ซื้อ จะหมายถึงเทวดาที่คุ้มครองเด็กแรกเกิดหรือเป็นเทวดาประจำตัวทารก ซึ่งก็จะมี ๗ นาง แต่ละนางก็จะมีชื่อเรียกและการแต่งกายคล้ายกับทางภาคกลาง
ภาคใต้ แม่ซื้อ เป็นสิ่งเร้นลับที่อยู่ในความเชื่อของชาวบ้าน ไม่มีตัวตน จะมีฐานะเป็นเทวดาหรือภูตผีก็ไม่ปรากฏชัด ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงของทารกตั้งแต่แรกเกิดจนอายุ ๑๒ ขวบ มีด้วยกัน ๔ ตนเป็นผู้หญิงชื่อ ผุด ผัด พัดและผล แม้ว่าแม่ซื้อจะถือว่าเป็นพี่เลี้ยงทารก็จริงอยู่ แต่บางครั้งก็ให้โทษได้เช่นกัน จึงมีการจัดพิธี ทำแม่ซื้อ หรือ เสียแม่ซื้อ ขึ้น ทั้งนี้ ด้วยเชื่อว่าจะเป็นสิริมงคลแก่เด็ก การทำพิธีมักจะทำในวันเกิดของเด็ก หากเป็นวันข้างขึ้นก็ให้ใช้วันคี่ ข้างแรมให้ใช้วันคู่
ภาคอีสาน เป็นความเชื่อในสังคมเขมร-ส่วย ว่าทุกคนที่ปฏิสนธิในครรภ์มารดานั้น มีแม่ผู้สร้างทารกและเลี้ยงดูในครรภ์ที่เรียกว่า มนายเดิม หรือ มนายสะโนน (สะโนน แปลว่า ผู้ปั้น”) เป็นภาษาเขมร หมายถึง แม่คนเก่าก่อน ชาวบ้านเชื่อว่าทารกเกิดใหม่ที่มักนอนยิ้มกับอากาศอยู่คนเดียว คือมีผีพรายมาหยอกเล่นกับเด็ก แม่ผีพรายนี้เมื่อเห็นเด็กทารกมีแม่ใหม่ก็หวงแหน อยากได้ลูกกลับไปอยู่เมืองผีกับตน จึงทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยต่างๆนานา จึงมักมีพิธีแบ่งลูกผีลูกคน พิธีการคือนำเด็กทารกมาใส่กระด้งร่อน แล้วกล่าวว่า “สามวันลูกผี สี่วันลูกคน ลูกของใคร ใครเอาไปเน้อ” ฝ่ายพ่อแม่ก็จะรับว่าเป็นลูกตน คนทำพิธีก็จะส่งลูกให้ แม่มนายเดิมก็จะรู้ว่าทารกนั้นเป็นลูกคนแล้วก็จะไม่มารบกวนอีก
สรุป
จะเห็นได้ว่าความเชื่อของคนโบราณนั้นก็เป็นสิ่งที่สืบทอดกันมานานมากๆ ส่วนบ้านไหนที่จะมีความเชื่อเรื่องเหล่านี้ก็เป็นสิทธิส่วนบุคคลน้า แต่ในปัจจุบันทางการแพทย์ก็จะบอกว่าเหล่าเด็กๆที่ร้องไห้งอแงในช่วงกลางคืนนั้นเกิดมาจากอาการโคลิคหรือการที่เด็กน้อยต้องการแม่ๆนั้นเอง
เล่นหวยออนไลน์ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ :