งานมงคล งานสำคัญทางศาสนา หากกำลังจะดำเนินการจัดงานขึ้นแล้วนั้น ถ้าเกิดมีเมฆดำเริ่มก่อตัวขึ้นมาแล้วหละก็ คนที่จัดงานก็เกิดวิตกกันไม่มากก็น้อย ไหนจะเวทีเครื่องเสียง โต๊ะจีนที่จัดไว้กลางแจ้งก็คงจะเปียกหมดหากฝนเทลงมา คนจัดงานหรือผู้มีประสบการณ์ก็เริ่มหาตะไคร้กันมาเพื่อจะทำพิธีปักตะไคร้ไล่ฝนกัน แล้วเพื่อนๆสงสัยไหมว่าพิธีเหล่านี้มันช่วยไล่ฝนได้จริงหรือไม่ วันนี้เราจะพาไปหาคำตอบกัน
ที่มาของความเชื่อ
ที่ตั้งของประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร ทำให้ภูมิอากาศมีลักษณะเป็นแบบร้อนชื้น ช่วงฤดูมรสุมจะมีฝนตกชุกส่งผลให้จะมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ดังนั้นเมื่อสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยหากต้องจัดงานสำคัญกลางแจ้ง คนโบราณก็คิดหาวิธีการไล่ฝน ซึ่งมีกล่าวถึงกันว่า “ให้สาวพรหมจรรย์ไป “ปักตะไคร้” แล้วฝนจะหยุดตก”
ต้องใช้ต้นตะไคร้เท่าใด
การปักตะไคร้เป็นความเชื่อของคนไทยที่มีมานานจนไม่สามารถระบุหลักฐานที่มาได้ รวมถึงไม่มีรายละเอียดของพิธีการว่าต้องใช้ต้นตะไคร้จำนวนเท่าใด หากแต่คนส่วนใหญ่เชื่อว่าต้องปักเป็นจำนวนเลขคี่ เช่น 3 ต้น หรือ 7 ต้น โดยผู้ที่ประกอบพิธีจะต้องเป็น “สาวพรหมจรรย์” หรือไม่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์
ต้อง “ปักตะไคร้” อย่างไร
นำส่วนปลายยอดของต้นตะไคร้ปักลงไปในดิน ให้ส่วนโคนรากตะไคร้ชี้ขึ้นฟ้า เป็นเชิงส่งสัญญาณถึงพระพิรุณขอให้ย้ายเค้าเมฆฝนไปยังพื้นที่ไกลจากบริเวณที่จัดงาน หรือทำให้ฝนที่ตั้งเค้ามาหยุดตกได้
อย่างไรก็ตาม การห้ามดินฟ้าอากาศซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถกระทำการบังคับได้ จึงกลับกลายเป็นวาทกรรมที่มักถูกนำมาใช้ล้อเลียนผู้หญิงที่ว่าผู้หญิงคนไหนไปปักตะไคร้แล้วฝนไม่หยุดตกแสดงว่าผู้หญิงคนนั้นไม่โสดไม่บริสุทธิ์ เป็นการเสียดสีที่ลดทอนคุณค่าของผู้หญิง
ทั้งนี้ ความเชื่อดังกล่าวมีตรรกะมาจากพื้นฐานแนวคิดว่า การเพาะปลูกพืชพันธุ์ใดก็ต้องปักส่วนโคนที่มีรากลงดินเพื่อให้เจริญเติบโต ดังนั้นการปักปลายตะไคร้ และหงายโคนชี้ฟ้าจึงเป็นลักษณะของการ “ผิดธรรมชาติ” ซึ่ง การกระทำที่ฝืนธรรมชาติเช่นนี้เชื่อว่าจะทำให้เทพเจ้าโกรธไม่พอใจ และดลบันดาลไม่ให้ฝนตกตามฤดูกาล หรือสั่งให้ฝนหยุดตกโดยทันที คล้ายๆ กับพิธีขึดของชาวล้านนา (ขึดคือความเชื่อที่เป็นข้อห้าม การกระทำในสิ่งที่เป็นอาถรรพ์ เสนียดจัญไร อัปมงคล)
“ปักตะไคร้” จำเป็นไหมต้องเป็น “สาวพรหมจรรย์”
พิธี “ปักตะไคร้” ในแต่ละท้องถิ่นนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งความเชื่อที่ว่าผู้ปักตะไคร้จะต้องเป็นลูกสาวคนหัวปีหรือลูกคนโตที่ยังไม่แต่งงาน บ้างก็ว่าต้องเป็นลูกสาวคนเล็กที่ยังไม่แต่งงาน หรือลูกโทน ไปจนถึงแม่หม้าย จึงไม่ได้จำกัดไว้เฉพาะสาวพรหมจรรย์เท่านั้น หรือในพิธีกรรมโบราณมากจะให้ “เด็กหญิง” ที่ยังไม่มีประจำเดือนเป็นผู้ปักตะไคร้ ดังนั้น ความเชื่อดังกล่าวจึงจัดเป็นความเชื่อส่วนบุคคล
ความเชื่อโบราณ : ปักตะไคร้ไล่ฝน ไม่ได้จำกัดไว้ให้สาวพรหมจรรย์เท่านั้น!
ที่ตั้งของประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร ทำให้ภูมิอากาศมีลักษณะเป็นแบบร้อนชื้น ช่วงฤดูมรสุมจะมีฝนตกชุกส่งผลให้จะมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ดังนั้นเมื่อสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยหากต้องจัดงานสำคัญกลางแจ้ง คนโบราณก็คิดหาวิธีการไล่ฝน ซึ่งมีกล่าวถึงกันว่า “ให้สาวพรหมจรรย์ไปปักตะไคร้ แล้วฝนจะหยุดตก”
การปักตะไคร้เป็นความเชื่อของคนไทยที่มีมานานจนไม่สามารถระบุหลักฐานที่มาได้ รวมถึงไม่มีรายละเอียดของพิธีการว่าต้องใช้ต้นตะไคร้จำนวนเท่าใด หากแต่คนส่วนใหญ่เชื่อว่าต้องปักเป็นจำนวนเลขคี่ เช่น 3 ต้น หรือ 7 ต้น โดยผู้ที่ประกอบพิธีจะต้องเป็น “สาวพรหมจรรย์” หรือไม่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์ โดยนำส่วนปลายยอดของต้นตะไคร้ปักลงไปในดิน ให้ส่วนโคนรากตะไคร้ชี้ขึ้นฟ้า เป็นเชิงส่งสัญญาณถึงพระพิรุณขอให้ย้ายเค้าเมฆฝนไปยังพื้นที่ไกลจากบริเวณที่จัดงาน หรือทำให้ฝนที่ตั้งเค้ามาหยุดตกได้
อย่างไรก็ตาม การห้ามดินฟ้าอากาศซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถกระทำการบังคับได้ จึงกลับกลายเป็นวาทกรรมที่มักถูกนำมาใช้ล้อเลียนผู้หญิงที่ว่าผู้หญิงคนไหนไปปักตะไคร้แล้วฝนไม่หยุดตกแสดงว่าผู้หญิงคนนั้นไม่โสดไม่บริสุทธิ์ เป็นการเสียดสีที่ลดทอนคุณค่าของผู้หญิง
ทั้งนี้ ความเชื่อดังกล่าวมีตรรกะมาจากพื้นฐานแนวคิดว่า การเพาะปลูกพืชพันธุ์ใดก็ต้องปักส่วนโคนที่มีรากลงดินเพื่อให้เจริญเติบโต ดังนั้นการปักปลายตะไคร้ และหงายโคนชี้ฟ้าจึงเป็นลักษณะของการ “ผิดธรรมชาติ” ซึ่ง การกระทำที่ฝืนธรรมชาติเช่นนี้เชื่อว่าจะทำให้เทพเจ้าโกรธไม่พอใจ และดลบันดาลไม่ให้ฝนตกตามฤดูกาล หรือสั่งให้ฝนหยุดตกโดยทันที คล้ายๆ กับพิธีขึดของชาวล้านนา (ขึดคือความเชื่อที่เป็นข้อห้าม การกระทำในสิ่งที่เป็นอาถรรพ์ เสนียดจัญไร อัปมงคล)
รู้หรือไม่ว่า “พิธีปักตะไคร้” ในแต่ละท้องถิ่นนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งความเชื่อที่ว่าผู้ปักตะไคร้จะต้องเป็นลูกสาวคนหัวปีหรือลูกคนโตที่ยังไม่แต่งงาน บ้างก็ว่าต้องเป็นลูกสาวคนเล็กที่ยังไม่แต่งงาน หรือลูกโทน ไปจนถึงแม่หม้าย จึงไม่ได้จำกัดไว้เฉพาะสาวพรหมจรรย์เท่านั้น หรือในพิธีกรรมโบราณมากจะให้ “เด็กหญิง” ที่ยังไม่มีประจำเดือนเป็นผู้ปักตะไคร้ ดังนั้น ความเชื่อดังกล่าวจึงจัดเป็นความเชื่อส่วนเฉพาะบุคคล
วิธีปักตะไคร้
- ใช้ตะไคร้ 3 ต้น หรือ 7 ต้น โดยตัดยอดออก เพื่อใช้ส่วนใบที่แข็ง ปักลงดินเพื่อให้โคนต้นตะไคร้ชี้ฟ้า
- ให้สาวพรหมจารีเป็นคนทำพิธี
โดยลักษณะของสาวพรหมจารีต้องมีคุณสมบัติ 5 อย่าง ได้แก่
1. ไม่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์
2. ไม่อยู่ในช่วงมีรอบเดือน
3. เป็นหญิงสาวที่ไม่ใช่เด็ก (หญิงสาวที่เคยมีประจำเดือนแล้ว) อายุไม่เกินช่วงวัยเบญจเพส
4. เป็นหญิงสาวที่อยู่ในศีลในธรรม
5. เป็นหญิงหม้ายที่ถือพรหมจรรย์
ทำไมต้องให้ผู้หญิงเป็นผู้ปักตะไคร้ หรือทำพิธีห้ามฝน
ตามความเชื่อของคนสมัยก่อน ได้ยกย่องเพศหญิงเป็นเพศที่เกี่ยวข้องกับเทพยดาที่คุ้มครองผืนดิน ผืนน้ำ เช่นการเรียกเทพที่คุ้มครองแผ่นดินว่า “พระแม่ธรณี” หรือเรียกเทพที่คุ้มครองผืนน้ำว่า “พระแม่คงคา” จึงเชื่อว่าเพศหญิงเป็นเพศที่มีพลังศักดิ์สิทธิ์ และการเลือกผู้หญิงบริสุทธิ์ เชื่อว่าเป็นผู้ที่มีความดีงาม
ทำไมต้องใช้ตะไคร้กลับด้าน
ไม่มีใครทราบว่าพิธีปักตะไคร้ไล่ฝนนั้นใครเป็นคนคิด บ้างก็คาดว่ามาจากพิธีชาวกะเหรี่ยง หรือเป็นความเชื่อจากพราหมณ์ แต่การใช้ตะไคร้ เพราะเป็นพืชหาง่าย และเมื่อปักหันโคนขึ้น เป็นการฝืนธรรมชาติ เป็นกุศโลบายเพื่อห้ามลมห้ามฝน
คาถาปักตะไคร้
เมื่อเลือกสาวพรหมจารี และเตรียมต้นตะไคร้พร้อมแล้ว คณะผู้จัดงานก็จะพาหญิงสาวไปบริเวณที่เหมาะสมเพื่อปักตะไคร้ ด้วยการท่องคาถา ดังนี้
- ตั้ง นะโม 3 จบ
- กล่าวตั้งจิตอธิษฐาน “อากาเสจะ พุทธทีปังกะโร นะโมพุทธายะ”
- ข้าพเจ้า และคณะผู้จัดงาน (กล่าววัตถุประสงค์จัดงาน) ขอเทพยดาและพระภูมิเจ้าที่ ช่วยสนับสนุนค้ำจุน ให้ (วันที่) ไม่มีฝนตกใน (สถานที่) และขอให้สภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการรองรับแขกเหรื่อที่มาร่วมงานด้วยเทอญ.
- หลังจากกล่าวเสร็จแล้ว ให้ยกต้นตะไคร้ขึ้น และกล่าว “ขอบารมีคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทวดาอารักษ์ ได้โปรดดลบันดาลให้ฝนไม่ตก ให้ท้องฟ้าเปิดสว่างไสว ให้ฝนไปตกที่อื่นตามคำขอด้วยเทอญ”
- “ตอนมหาลัย ทำกิจกรรมรับน้อง ผมให้เพื่อนผญที่เป็นคนสุดท้องและจิ้นเป็นคนปักตะไคร้ ผลคือฝนไม่ตกครับทั้งๆที่ครึ้มฟ้าครึ้มฝนมานาน”
- “ที่บ้านเป็นโรงเรียนสอนรำ จะต้องจัดงานไหว้ครูช่วงเดือนตุลาคมทุกปี ก็ต้องทำพิธีปักตะไคร้ทุกปี คนปักก็ไม่ใช่ใคร คุณย่า ปักตั้งแต่สาวจนตอนนี้อายุ 80 ปี เวอร์จิ้นมาจนถึงตอนนี้”
- “..สมัยเรียน ป.ตรี ไปทำค่ายที่จังหวัดตาก ต้องเทปูนให้เสร็จ ฝนตั้งเค้ามา เราเห็นท่าไม่ดีก็ชวนเพื่อนไปปักตะไคร้ ไม่มีใครรู้ ทำกันเอง แอบไปปัก สักพักฝนหายหมด แดดเปรี้ยง ได้ผลแฮะ..แต่ๆๆ ประเดี๋ยวหนึ่งหลังทำงานได้เกือบเสร็จ เมฆมาใหม่ ฝนเริ่มปรอย ทำไมมันไม่ได้ผล ปรากฏเห็นชาวบ้านไปด้อมๆ ดุ่มๆ เดินเก็บพืชผัก สงสัยจะเอาตะไคร้เราไปเลย”
คาถาไล่ฝนอื่นๆ
นอกจากวิธีปักตะไคร้แล้วยังมีคาถาอื่นๆ ที่เล่าลือกันว่าเป็น คาถาไล่ฝน โดยสมเด็จพระศรีสมโพธิ์ราชครู มีตำนานดังนี้
สมเด็จพระศรีสมโพธิ์ราชครู เป็นพระภิกษุสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ช่วงกรุงแตก มีตำนานที่เก่ียวข้องกับท่านว่าท่านเป็นพระภิกษุที่ถูกกวาดต้อนไปพม่าช่วงกรุงแตก พร้อมกับครอบครัวของท่าน พอทราบว่าพระเจ้าตากสินกอบกู้เอกราชสร้างเมืองได้ ท่านก็กลับเมืองไทยพร้อมน้องสาว โดยระหว่างทาง เมื่อต้องพักค้างแรม ก็ใช้มีดอีโต้ที่น้องสาวพกมา วางคั่นกลางเอาไว้ ทำเช่นนี้มาเรื่อยจนถึงกรุงธนบุรี เมื่อท่านถูกสอบสวนเพราะเป็นพระสงฆ์ที่เดินทางมาพร้อมกับหญิงสาว ท่านจึงเสี่ยงทายว่าถ้าท่านบริสุทธิ์ ขอให้มีดอีโต้นี้ไม่จมน้ำ เมื่อท่านโยนอีโต้ลงน้ำ มีดก็ลอยน้ำขึ้นมาเป็นอัศจรรย์แก่ชาวบ้าน หมดข้อครหา
“สิทธิ พุทธะ จะ อุตตะมะ สิทธิ ธัมมา เทวะ สังฆา สัพพะ มหาวิชา คาถา สิทธิสาวัง พุทธัง ประสิทธิเม ธัมมัง ประสิทธิเม สังฆัง ประสิทธิเม สมเด็จพระศรีสมโพธิ์ราชครู ประสิทธิเม พระขรัวอีโต้ประสิทธิเม”
วันอาทิตย์ 6 จบ วันจันทร์ 15 จบ วันอังคาร 8 จบ วันพุธกลางวัน 17 จบ วันพุธกลางคืน 12 จบ วันพฤหัสบดี 19 จบ วันศุกร์ 21 จบ และวันเสาร์ 10 จบ
สรุป
เป็นอย่างไรกันบ้างเพื่อนๆ จะเห็นได้ว่าไม่ใช่ว่าใครอยากจะนำตะไคร้วิ่งไปกลางแจ้งแล้วนำไปปักกันมั่วๆไม่ได้นะ ต้องมีการเลือกคนปัก สถานที่ คาถาที่ใช้ท่องก่อนจะปักลงไป ทุกอย่างต้องให้ผู้ที่มีประสบการณ์นำมาทำพิธีเพื่อให้เกิดผลสูงสุด แต่เรื่องแบบนี้ก็เป็นความเชื่อของแต่ละบุคคลหละนะ ใครเชื่อก็ลองนำวิธีการนี้ไปลองใช้ดูก็ได้ ดีกว่าเราไม่ทำอะไรแล้วรอให้ฝนเทลงมาอย่างเดียวใช่ไหมหละ
เล่นหวยออนไลน์ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ :